จัดฟันไป 3 ปี แต่ ฟันล้ม! | Zenyum TH

11 กุมภาพันธ์ 2021

teeth

        ระยะเวลา 3 ปีอันแสนยาวนาน ที่คุณต้องทนกับการจัดฟันเหล็ก ทั้งเคี้ยวยาก เศษอาหารติดฟัน และความเจ็บปวด อีกนับครั้งไม่ถ้วน ในที่สุดคุณก็ได้ถอดมันซักที พร้อมกับฟันเรียงสวยที่คุณใฝ่ฝันมานาน 

แต่เดี๋ยวก่อนนะ! แค่ช่วงเวลาแปปเดียว ทำไมดูเหมือน ฟันล้ม แล้วล่ะ?

เรามาดูความจริงอันแสนเจ็บปวดนี้กันเถอะ  มันเป็นเรื่องยากนะ ที่จะคงสภาพฟันของคุณให้ตรง เหมือนตอนถอดเหล็กใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา คุณคงมีคำถามมากมาย เช่น ทำไมฟันถึงเคลื่อนหลังจากถอดเหล็กดัดฟันล่ะ?

มันเป็นเรื่องปกติหรอที่ฟันจะเคลื่อนหลังจากถอดเหล็กออก? ทันตแพทย์เค้าทำอะไรผิดไปหรือเปล่านะ? หรือ จะทำยังไงไม่ให้ฟันเคลื่อนได้บ้าง? ก่อนที่คุณจะเริ่มร่ายข้อความที่ผสมความโกรธ ไปหาทันตแพทย์ที่คุณจัดฟันอยู่ เรามาดูคำตอบข้างล่างนี้กันก่อน และที่สำคัญที่สุด ถ้าฟันเคลื่อนไปแล้ว จะทำอย่างไรได้บ้าง

สาเหตุที่ทำให้ฟันล้มเอียง หลังจากถอดเหล็กจัดฟัน

ลองคิดตามดู ร่างกายของเรามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บางครั้งคุณสร้างกล้ามเนื้อขึ้นมา และบางที คุณก็สูญเสียกล้ามเนื้อบางส่วนไป  ผมของคุณยาวขึ้นทีละนิดๆ ทุกวินาที ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้ทันสังเกตก็ตาม

ดังนั้น ฟันก็มีสิทธิที่จะเคลื่อนได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม คุณคงจะอยากรู้แล้วว่า อะไร? คือเหตุผลที่ทำให้ฟันเคลื่อน และต่อไปนี้คือ สาเหตุที่ว่า ทำไมฟันของคุณถึงไม่แน่น และไม่อยู่คงที่หลังถอดเหล็กจัดฟันออก?

  1. มันไม่มีอะไรที่ยึดฟันให้อยู่ที่เดิมได้ – เหตุผลนี้คือเหตุผลที่อธิบายได้ชัดมากที่สุด หลังจากที่คุณถอดเหล็กดัดฟันออกแล้ว ฟันจะไม่มีแรงดึงจากตัวเหล็ก ที่เคยทำให้ฟันอยู่ในที่ที่เราอยากให้อยู่
  2. มีแรงผลัก หรือแรงดันจากฟันหลายๆทาง – สิ่งที่ทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีกคือ เวลาเราเคี้ยวอาหาร จะเกิดแรงดันของฟันขึ้น บางทีลิ้นอาจจะไปดันฟัน ในขณะที่เราพูด หรือรับประทานอาหาร สิ่งเหล่านี้ต่างเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดแรงดันขึ้นมาทีละนิดๆ และเมื่อผ่านไปนานๆแรงดันเหล่านี้นี่ล่ะ ที่ทำให้ฟันของคุณเคลื่อนที่
eat

โรคปริทันต์ และกระดูกพรุน

  • โรคปริทันต์ คือ โรคเกี่ยวกับการอักเสบ และติดเชื้อของเนื้อเยื่อรอบๆฟัน โดยเฉพาะกระดูกและเหงือก ผลของโรคนี้ คือ กระดูกพรุน นั่นหมายถึง ฟันจะขาดสิ่งที่จะมาค้ำยันฟัน ดังนั้นจึงทำให้ฟันเคลื่อนได้
  • การเปลี่ยนแปลงของจำนวนฟัน ทำให้ฟันไม่สมดุลกัน คือ ในกรณีที่คุณเสียฟันไป เช่น ถอนฟัน ซึ่งจะทำให้ ฟันซี่อื่นๆ มีช่องว่าง ที่สามารถเคลื่อนหรือถอยไปได้
  • ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ฟันของคุณเคลื่อนที่ คือ นอกจากเหตุผลทั้งหมด ที่ว่ามาข้างต้นแล้ว การเปลี่ยนแปลงเช่น อายุที่เพิ่มขึ้น ฟันขบกันขณะหลับ หรือแม้แต่พันธุกรรม ก็อาจจะมีส่วนในการทำให้ฟันเคลื่อนได้เหมือนกัน

อยากทำให้ฟันกลับมาเรียงสวยเหมือนเดิมไหม?

ทำการประเมินฟันเบื้องต้น ฟรี! คลิก ที่นี่

ไม่มีข้อผูกมัด ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม!

ไม่อยากให้ฟันเคลื่อนที่หลังจากถอดเหล็กจัดฟัน ทำอย่างไร?

        มีแค่หนทางเดียวเท่านั้น ที่จะช่วยไม่ให้ฟันเคลื่อนที่หลังจากถอดเหล็กจัดฟัน นั่นก็คือ การใส่รีเทนเนอร์อย่างสม่ำเสมอ

        เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ทำไมฟันของคุณสามารถเคลื่อนที่ได้ตั้งแต่แรก นั่นเป็นเพราะ แรงผลักดันจากภายนอก ที่ติดอยู่กับฟันในช่วงจัดฟัน ซึ่งนั่นทำให้ความหนาแน่นรอบๆรากฟันนั้น น้อยลงไป  จากนั้นฟันจึงสามารถค่อยๆเคลื่อนที่ ไปยังตำแหน่งที่เราต้องการได้  ซึ่งหมายความว่า กระดูกจำเป็นที่จะต้องสร้างความหนาแน่นขึ้นมาอีกครั้งรอบๆฟันหลังจากที่มีการเคลื่อนที่มายังตำแหน่งใหม่เพื่อที่จะสามารถทำให้ฟันอยู่กับที่ได้ คล้ายๆกับเวลาที่เราสร้างบ้าน กระดูกบริเวณรากฟันก็เปรียบเสมือนปูนซีเมนต์นั่นเอง

        เพราะฉะนั้น รีเทนเนอร์จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่จะช่วยทำให้ฟันยังสามารถคงที่อยู่ในตำแหน่งที่เราต้องการได้ หลังถอดเหล็กออก ถ้าคุณไม่ใส่รีเทนเนอร์ ฟันก็จะค่อยๆเคลื่อนที่กลับไปตามปัจจัย ที่เราได้พูดถึงไปก่อนหน้านี้ เช่น แรงดัน และการมีจำนวนฟันที่น้อยลง เป็นต้น

ดังนั้น เราสามารถไม่ใส่รีเทนเนอร์หลังจากผ่านไปซัก 2 – 3 เดือนได้ใช่มั้ย?

คำตอบคือ ไม่! แม้ในขณะที่ฟันของคุณดูจะเคลื่อนที่น้อยลง หรือไม่เคลื่อนที่เลย ในขณะที่คุณใส่รีเทนเนอร์ แต่ถ้าคุณถอดออก ฟันก็ยังมีโอกาสที่จะเคลื่อนที่ได้อยู่ดี เพราะฉะนั้น เราควรใส่รีเทนเนอร์อย่างสม่ำเสมอและห้ามลืมเด็ดขาด! 

ผู้หญฺิงยิ้มและถืออุปกรณ์จัดใสZenyumกับรีเทนเนอร์ไว้ในมือทั้ง2ข้าง
รีเทนเนอร์มีหลายรูปแบบ เช่น แบบใส และ แบบลวด เป็นต้น

แล้วเราสามารถทำอะไรได้มากกว่าแค่ใส่รีเทนเนอร์ได้บ้าง?

        การใส่รีเทนเนอร์เป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆที่พอจะช่วยให้ฟันของคุณยังเรียงตัวสวยอยู่ได้ เช่น

  • รักษาสุขภาพในช่องปากให้ดีอย่างสม่ำเสมอ – คุณควรจะแปรงฟันสองครั้งต่อวัน และใช้ไหมขัดฟันเพื่อป้องกันคราบพลัก การกระทำนี้ จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคปริทันต์และการสูญเสียฟันได้
  • ลองตรวจสอบดูว่าคุณมีอาการกัดฟันเวลานอนหรือเปล่า  – การกัดฟัน เป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันเคลื่อนได้ เนื่องจากมีแรงกดบนฟันอย่างต่อเนื่องในหลายๆทิศทาง ดังนั้น คุณควรลองหาที่ครอบฟันสำหรับคนนอนกัดฟันมาใช้ในคืนที่คุณไม่ได้ใส่รีเทนเนอร์ดู 
  • ไปพบทันตแพทย์หรือคุณหมอจัดฟันอย่างสม่ำเสมอ – บางทีฟันของคุณอาจจะเคลื่อนไปยังตำแหน่งอื่นแล้ว จึงทำให้รีเทนเนอร์อันเก่าของคุณไม่พอดีอีกต่อไป อาจจะเพราะไม่ได้ใส่รีเทนเนอร์ทุกคืน คุณควรจะไปพบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละสองครั้ง เพื่อให้ทันตแพทย์ได้ทำการเช็คสภาพฟันและรีเทนเนอร์ ว่ายังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ต่อไปหรือต้องมีการปรับเปลี่ยนรีเทนเนอร์หรือไม่

คุณไม่จำเป็นต้องกลับไปสู้กับความเจ็บปวดและเป็นมนุษย์ฟันเหล็กอีกต่อไปแล้ว

เพราะตอนนี้คุณมีทางเลือกใหม่ นั่นก็คือ การจัดฟันแบบใส ที่จะช่วยให้คุณดูดีขึ้น แต่จ่ายน้อยลง แถมใช้ระยะเวลาในการจัดฟันสั้นลงอย่างมาก

 

ให้เราช่วยทำให้ฟันของคุณกลับมาเรียงสวยอีกครั้ง ติดต่อเราได้ที่

Line Official : @zenyumth หรือคลิก ที่นี่

หรือประเมินฟัน ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย คลิก ที่นี่

รูปภาพอุปกรณ์จัดฟันใส Zenyum
สอบถามและปรึกษา

เริ่มต้นประเมิน

ฟันสวยไม่ต้องรอนาน ! 

Table of Contents

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

เราจะถูกสอนกันมาตั้งแต่เด็กๆ ให้แปรงฟันก่อนเข้านอนนะ ไม่กินขนมหวาน ไม่กินน้ำหวานนะ เดี๋ยวฟันจะผุ แต่จริงๆ แล้วฟันผุเกิดมาจากอะไรกันแน่ วันนี้หมอจะอธิบายให้ฟังครับ
รวมไว้ให้แล้วคำถามที่พบบ่อยเมื่อเริ่มจัดฟันใสกับ Zenyumไม่ว่าจะเป็น วิธีใส่อุปกรณ์จัดฟันใส วิธีทำความสะอาดอุปกรณ์

หมวดหมู่

สมัครรับ

จดหมายข่าวของเรา

รับโปรโมชั่นผลิตภัณฑ์รายสัปดาห์และเคล็ดลับการดูแลฟันและช่องปากที่เป็นประโยชน์!

Search

สงวนสิทธิ์

อุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานทางการแพทย์ใดๆ (เช่น การตรวจหา การวินิจฉัย การตรวจสอบ การจัดการ หรือการรักษาทางการแพทย์หรือโรคใดๆ) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพใดๆ ที่ได้รับผ่านอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำทางการแพทย์’

ค้นหา

Save 15% off* your first purchase. Hurry, this deal ends soon!

Be the first to know about exclusive offers, and more.

Subscribe

to our newsletter

Receive weekly product promos, information and oral care tips!

This site is registered on wpml.org as a development site. Switch to a production site key to remove this banner.