ถอนฟันกรามอันตรายไหมและจะส่งผลอะไรหรือเปล่า?

17 พฤศจิกายน 2022

ภาพโมเดลฟัน

หากเราถอนฟันกรามทิ้งจะเป็นอันตรายไหมและจะส่งผลเสียในระยะยาวหรือไม่?

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าฟันกรามนั้นมีหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหาร ซึ่งถ้าหากเราถอนฟันกรามไปเราก็จะสูญเสียฟันที่มีหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหารไปด้วย ซึ่งตำแหน่งฟันกรามที่คนมักจะสูญเสียไปมากที่สุดนั่นคือฟันกรามใหญ่แท้ซี่แรก ทั้งนี้ เนื่องจากฟันซี่นี้ขึ้นตอนอายุ 6 ขวบ ซึ่งในผู้ปกครองบางท่าน ก็อาจจะไม่ทราบด้วยซ้ำว่าฟันซี่นั้นของลูกเป็นฟันแท้แล้ว จึงไม่ได้ดูแลตามความเหมาะสม แต่ที่ถูกที่ควรแล้วผู้ปกครองควรดูแลสุขภาพช่องปากของลูกๆ ตั้งแต่ฟันน้ำนมยังไม่ขึ้น ต่อมาเมื่อฟันน้ำนมขึ้นก็จำเป็นต้องดูแลไม่ให้ผุ เพื่อฟันแท้จะได้ขึ้นอย่างสมบูรณ์ต่อไป

ถ้าหากฟันกรามถูกถอนไปแล้วนั้น ก็มีความจำเป็นที่จะต้องใส่ฟันทดแทนหรือจัดฟันปิดช่องว่างนั้น ประเด็นสำคัญประการหนึ่งเลยคือ อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ฟันกรามมีหน้าที่หลักในการบดเคี้ยวอาหาร ถ้าสูญเสียไป จะทำให้ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารลดลง ส่งผลให้สุขภาพร่างกายโดยร่วมแย่ลงได้

ประเด็นต่อมา คือ ถ้าหากมีช่องว่างของฟันภายในช่องปาก เมื่อปล่อยทิ้งไปสักระยะหนึ่ง ฟันจะเริ่มขยับเข้าหาช่องว่างนั้น อาจเรียกง่ายๆ ว่า ฟันล้ม ทำให้ฟันมีการสบกระแทก ฟันสึก มีโรคเหงือกตามมา หรือแม้กระทั่งในบางรายอาจจำเป็นต้องถอนฟันซี่อื่นๆ ตามไปด้วย

มีกรณีที่แนะนำให้ถอนฟันหรือไม่?

ในกรณีที่คนไข้มีฟันซ้อนเกค่อนข้างมาก จนไม่มีพื้นที่ให้ฟันในช่องปากเคลื่อนที่เพื่อจัดเรียงตัว ก็มีความจำเป็นที่ต้องถอนฟันบางซี่ออกเพื่อให้ฟันมีพื้นที่ในการขยับจัดเรียงตัว โดยทั่วไปแล้วจะถอนฟันกรามน้อยซี่แรก (ฟันหลังเขี้ยว) ซึ่งจะถอนฟันซี่ใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับแผนการรักษาของทันตแพทย์แต่ละท่าน

บีบยาสีฟันลงบนแปรงสีฟัน
แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
ทันตแพทย์กำลังรักคุยกับผู้หญิง
พบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

มีวิธีดูแลรักษาอย่างไรบ้าง?

สำหรับการดูแลรักษา ก็จะเป็นการทำความสะอาดช่องปากปกติที่ทำกันทุกวัน คือ ใช้ไหมขัดฟันพร้อมกันกับแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า กับ ก่อนนอน อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวแล้วอยากแนะนำให้ทุกท่านพบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หรือทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากโดยร่วม และขูดหินปูน เพราะในความเป็นจริงแล้วสุขภาพช่องปากไม่ใช่แค่เรื่องฟันอย่างเดียว แต่เป็นทุกอย่างที่อยู่ในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็น ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม ซึ่งตัวเราเองอาจจะไม่ทันสังเกตถึงความผิดปกติก็ได้

หมอไกด์

บทความโดย

ทพ. พงศกร อภิญสถานนท์
ทันตแพทย์ประจำศูนย์ทันตกรรมพีเอสเค

หมอไกด์

บทความโดย

ทพ. พงศกร อภิญสถานนท์
ทันตแพทย์ประจำศูนย์ทันตกรรมพีเอสเค

Table of Contents

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

เราจะถูกสอนกันมาตั้งแต่เด็กๆ ให้แปรงฟันก่อนเข้านอนนะ ไม่กินขนมหวาน ไม่กินน้ำหวานนะ เดี๋ยวฟันจะผุ แต่จริงๆ แล้วฟันผุเกิดมาจากอะไรกันแน่ วันนี้หมอจะอธิบายให้ฟังครับ
รวมไว้ให้แล้วคำถามที่พบบ่อยเมื่อเริ่มจัดฟันใสกับ Zenyumไม่ว่าจะเป็น วิธีใส่อุปกรณ์จัดฟันใส วิธีทำความสะอาดอุปกรณ์

หมวดหมู่

สมัครรับ

จดหมายข่าวของเรา

รับโปรโมชั่นผลิตภัณฑ์รายสัปดาห์และเคล็ดลับการดูแลฟันและช่องปากที่เป็นประโยชน์!

Search

สงวนสิทธิ์

อุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานทางการแพทย์ใดๆ (เช่น การตรวจหา การวินิจฉัย การตรวจสอบ การจัดการ หรือการรักษาทางการแพทย์หรือโรคใดๆ) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพใดๆ ที่ได้รับผ่านอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำทางการแพทย์’

ค้นหา

Save 15% off* your first purchase. Hurry, this deal ends soon!

Be the first to know about exclusive offers, and more.

Subscribe

to our newsletter

Receive weekly product promos, information and oral care tips!