สาเหตุของการเสียวฟัน พร้อมวิธีแก้ไขอย่างถูกต้อง

17 กันยายน 2021

เคยรู้สึกปวดฟันจี๊ดๆ เจ็บแปลบๆ ในขณะรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มเย็นๆบ้างไหม คนส่วนใหญ่มักละเลยกับปัญหาพวกนี้ แต่รู้หรือไม่ว่าปัญหาเหล่านั้นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังมี อาการเสียวฟัน อยู่ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพช่องปากที่ควรรีบแก้ไข 

 

อาการเสียวฟันเกิดจากอะไร

อาการเสียวฟันเกิดได้กับทุกคน มักพบในคนอายุระหว่าง 20 – 50 ปี โดยเกิดจากการที่ชั้นเคลือบผิวฟันมีน้อยลงหรือแทบจะไม่มี ส่งผลให้หน้าที่ป้องกันท่อขนาดเล็กจำนวนมากๆส่งความรู้สึกไปยังโพรงประสาทที่อยู่ในตัวฟัน ซึ่งการทำลายชั้นเคลือบผิวฟัน มักจะเกิดจากกิจวัตรประจำวัน และกลุ่มอาหารที่รับประทาน ส่วนใหญ่แล้วอาการเสียวฟันที่เกิดขึ้นนั้นก็มีสาเหตุคร่าวๆดังนี้

 

เลือกใช้แปรงสีฟันไม่ถูกต้องและแปรงฟันผิดวิธี

การใช้แปรงสีฟันที่มีลักษณะแข็งเกินไปและการแปรงฟันมากกว่าสามครั้งต่อวัน อาจทำให้เกิดการสูญเสียของสารเคลือบฟัน แทนที่จะทำให้ฟันสะอาดแต่อาจกลายเป็นการทำร้ายฟันโดยไม่รู้ตัว

 

ปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน 

ฟันแตก ฟันร้าว แม้จะมีการสูญเสียเพียงเล็กน้อย แต่มีโอกาสเกิดการสะสมของแบคทีเรีย และอาจทำให้เป็นโรคเหงือกอักเสบ หรือฟันผุลึกถึงชั้นเนื้อฟันได้ซึ่งนั้นจะทำให้รู้สึกเสียวฟันร่วมกับการปวดฟัน

 

เครื่องดื่มที่เป็นกรด 

เครื่องดื่มเช่น โซดาหรือน้ำอัดลม ก่อให้เกิดการกัดกร่อนชั้นเคลือบผิวฟันและเป็นการทำร้ายฟันโดยตรง ซึ่งก่อให้เกิดอาการเสียวฟันได้

 

การฟอกสีฟัน

การฟอกสีฟันควรทำด้วยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาจมีสารฟอกสีฟันซึมเข้าชั้นเคลือบฟันเพื่อแตกตัวเม็ดสี อาจทำให้ปลายประสาทได้รับกระทบทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้

 

วิธีป้องกัน และลดสาเหตุอาการเสียวฟัน

  • ใช้แปรงสีฟันที่เหมาะสม

ควรเลือกแปรงสีฟันที่มีขนแปรงนิ่มไม่แข็งเกินไป เพราะขนแปรงที่แข็งนั้นอาจมีส่วนทำให้ฟันสึกและเหงือกกร่นเพิ่มขึ้นได้ 

  • ใช้ยาสีฟันที่มีสารโปแทสเซียมไนเตรต

ยาสีฟันที่มีสารโปแทสเซียมไนเตรต จะช่วยป้องกันไม่ให้เส้นประสาทถูกกระตุ้น ช่วยบรรเทาอาการเสียวฟันได้ 

  • หลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็ง

หลีกเลี่ยงการใช้ฟันของเราเคี้ยวของแข็งโดยตรง ควรตัดอาหารที่แข็งเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนรับประทาน การกัดของแข็งอาจทำให้ ฟันบิ่น หรือ หักเป็นรอยร้าวได้

  • หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม ชา กาแฟ

หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรด หากบริโภคบ่อยและติดต่อกันนานเกินไป อาจทำให้เกิดการละลายตัวของเคลือบฟัน

  • พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน

เพราะฟันและปากของเราเป็นส่วนที่เราใช้งานอยู่ทุกวัน จึงมีแบคทีเรียสะสมในช่องปาก ฟันผุ หินปูนขึ้นบริเวณซอกฟัน จึงจำเป็นที่จะต้องเข้าพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อลดปัญหาต่างๆรวมไปถึงอาการเสียวฟัน

niềng răng trong suốt chữa trị lệch khớp cắn hiệu quả

วิธีการรักษาอาการเสียวฟัน

อาการเสียวฟันสามารถรักษาให้หายได้ เริ่มต้นจากการไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการหาสาเหตุให้แน่ชัดเสียก่อน ก็จะช่วยให้รักษาได้ตรงจุด และอาการเสียวฟันจะค่อย ๆ ลดลงอีกด้วย ซึ่งวิธีทางการแพทย์ที่สามารถช่วยรักษาอาการเสียวฟันได้มีดังนี้

 

การเคลือบฟลูออไรด์ เป็นการนำสารฟลูออไรด์ที่ใช้ป้ายบริเวณที่มีอาการเสียวฟัน เพื่อเสริมสารเคลือบฟันให้แข็งแรงและลดอาการปวดลง ซึ่งทันตแพทย์อาจแนะนำให้นำสารฟลูออไรด์กลับไปใช้ที่บ้านด้วยตามใบสั่งของแพทย์

 

การอุดฟัน ทันตแพทย์จะใช้วิธีอุดด้วยเรซินเพื่อปิดบริเวณรากฟัน โดยบางครั้งอาจใช้ยาชาเฉพาะจุดเพื่อช่วยลดอาการเสียวฟันในขณะทำการรักษา

 

ศัลยกรรมปลูกเหงือก ทันตแพทย์จะใช้วิธีปลูกเหงือกหรือการนำเนื้อเยื่อจากเหงือกส่วนอื่นมาปลูกถ่ายยังบริเวณที่มีปัญหาในกรณีที่อาการเสียวฟันจากการการสูญเสียเนื้อเยื่อของเหงือก

 

รักษารากฟัน หากอาการเสียวฟันค่อนข้างรุนแรง ทันตแพทย์จะแนะนำให้รักษารากฟันเป็นการรักษาอาการเสียวฟันที่เกิดขึ้นตั้งแต่เนื้อเยื่อภายในโพรงประสาทฟัน 

 

อาการเสียวฟันเป็นสัญญาณเตือนภัยด่านแรกที่ทำให้เรารู้ว่าฟันของเราเริ่มมีอาการผิดปกติ ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยเฉพาะคนที่มีพฤติกรรมการกินหรือดื่มอาหารที่เป็นกรดเป็นประจำ อย่างไรก็ดีอาการเสียวฟันสามารถรักษาและป้องกันได้ เพราะฉะนั้นอย่าลืมเอาเทคนิคและข้อมูลที่เรามาแชร์ในวันนี้ไปปรับใช้กันนะคะเพื่อสุขภาพฟันที่ดีและลดปัญหาของฟันที่จะตามมา

 

พิสูจน์ความสะอาด

รู้สึกต่างตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ลอง

Table of Contents

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

เราจะถูกสอนกันมาตั้งแต่เด็กๆ ให้แปรงฟันก่อนเข้านอนนะ ไม่กินขนมหวาน ไม่กินน้ำหวานนะ เดี๋ยวฟันจะผุ แต่จริงๆ แล้วฟันผุเกิดมาจากอะไรกันแน่ วันนี้หมอจะอธิบายให้ฟังครับ
รวมไว้ให้แล้วคำถามที่พบบ่อยเมื่อเริ่มจัดฟันใสกับ Zenyumไม่ว่าจะเป็น วิธีใส่อุปกรณ์จัดฟันใส วิธีทำความสะอาดอุปกรณ์

หมวดหมู่

สมัครรับ

จดหมายข่าวของเรา

รับโปรโมชั่นผลิตภัณฑ์รายสัปดาห์และเคล็ดลับการดูแลฟันและช่องปากที่เป็นประโยชน์!

Search

สงวนสิทธิ์

อุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานทางการแพทย์ใดๆ (เช่น การตรวจหา การวินิจฉัย การตรวจสอบ การจัดการ หรือการรักษาทางการแพทย์หรือโรคใดๆ) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพใดๆ ที่ได้รับผ่านอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำทางการแพทย์’

ค้นหา

Save 15% off* your first purchase. Hurry, this deal ends soon!

Be the first to know about exclusive offers, and more.

Subscribe

to our newsletter

Receive weekly product promos, information and oral care tips!