แผลในปาก รุนแรงได้แค่ไหน แก้ไขอย่างไรให้หายขาด

27 ตุลาคม 2022

แผลในปาก มักเป็นปัญหาที่หลายๆ คนรู้สึกรำคาญใจ ทำให้กินอาหารไม่อร่อย เพราะเจ็บเหงือก เจ็บปาก เจ็บลิ้น ฯลฯ หมอเชื่อว่า หลายท่านคงเคยเป็นแผลในปากมาบ้างแล้ว ไม่มากก็น้อย วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องแผลในปากกันค่ะ

แผลในปาก เกิดได้จากหลายสาเหตุ ในที่นี้เราจะพูดถึงแผลในปากที่ไม่เกี่ยวกับอุบัติเหตุบริเวณใบหน้านะคะ และหมอจะพูดถึงการป้องกันและรักษาไปพร้อมกันเลย 

สาเหตุการเกิดแผลในปากและการป้องกันดูแลรักษา

1.การกระทบกระแทกแล้วเกิดแผล เช่น เพิ่งเปลี่ยนแปรงสีฟันใหม่ แล้วใช้แรงในการแปรงแรงไปนิด, การรับประทานอาหารที่แข็ง แล้วครูดเหงือก เช่น กัดก้ามปู ก้างปลาทิ่มเหงือก, การรับประทานอาหารร้อนจัด จนลวกปาก รวมไปถึงการใส่ฟันปลอมแล้วกดทับหรือครูดกับเหงือก เป็นต้น

  • การป้องกันและรักษา ในกรณีแผลเกิดจากการกระแทกนี้ สามารถเริ่มที่ปรับเปลี่ยนลักษณะการรับประทานอาหาร อย่าใช้ฟันกัดของที่แข็งจนเกินไป จนฟันแตกบิ่น หรือส่วนที่แข็งไปจิ้มเหงือก, ถ้าอาหารร้อนจัดก็เป่าก่อน หรือรอให้เย็นลงสักนิด ก่อนที่จะกินหรือดื่ม
  • ถ้ากรณีรอยแผลเกิดจากฟันปลอม หมอแนะนำว่า ให้กลับไปพบหมอคนเดิมที่เป็นผู้ใส่ฟันปลอมให้ (ถ้าอยู่ไม่ไกลจนเกินไป) หรือหมอท่านอื่น และให้ไปในช่วงที่ยังมีรอยแผลอยู่ เพื่อให้สามารถตรวจเช็คได้ง่ายว่า ตำแหน่งที่ฟันปลอมกดหรือครูดเหงือกอยู่ตรงไหน จะทำให้สามารถแก้ไขได้ง่ายขึ้น

2. ฟันสึกมาก ฟันแตก หรือวัสดุอุดฟันหลุด รวมไปถึงการเคี้ยวไปถูกกระพุ้งแก้มด้านใน ซึ่งเมื่อฟันเกิดขอบคมที่บาดลิ้นเป็นแผล ท่านสามารถสังเกตได้ว่า ลิ้นจะคอยไปเขี่ยอยู่เสมอจนเป็นแผล จนกว่าขอบที่คมจะได้รับการรักษา และกรณีที่เกิดแผลที่กระพุ้งแก้มด้านใน มักเกิดบริเวณที่ตรงกับฟันกรามซี่สุดท้าย หรือซี่ในๆ ในผู้ที่มีเนื้อของกระพุ้งแก้มด้านในมากๆ หรือเป็นคนอ้วน และมีการใส่ฟันหรืออุดฟันที่รูปร่างใหญ่กว่าฟันเดิม  

  • กรณีที่รอยแผลเกิดจากขอบฟันที่คม ให้ไปพบหมอเพื่อรักษาตามความเหมาะสม เช่น อุดฟัน ครอบฟัน กรอแต่งขอบฟันที่คมให้มนขึ้น
  • ส่วนกรณีที่เกิดจากการใส่ฟันปลอม ให้ไปพบหมอที่รักษา ให้กรอแต่งรูปร่างลักษณะฟันตรงส่วนที่ติดแก้มให้เพรียวบางขึ้น เพื่อลดการกัดแก้มได้ค่ะ

3.แผลร้อนใน ตามหลักการการแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เกิดจากอะไร แต่ส่วนใหญ่เหมารวมไปว่า เกิดจากความเครียดที่ส่งผลสะท้อนให้เกิดแผลในปาก แต่ตามหลักการแพทย์แผนจีนเชื่อว่า เกิดจากในร่างกายมีความร้อนมากเกินไป แล้วจะทำให้เกิดเป็นแผลร้อนในขึ้นได้ มักพบบริเวณริมฝีปากด้านใน กระพุ้งแก้ม ฯลฯ

  • เมื่อเป็นแผลร้อนใน เราสามารถรักษาง่ายๆ ได้ด้วยยาป้ายปาก ที่มีจำหน่ายทั่วไปหลายประเภท ทั้งที่เป็นกลุ่มสเตียรอยด์ (เช่น Kenalog, Trinolone) ยาสกัดจากสมุนไพร หรือกลุ่มยาแก้ปวด ยาชา
  • ในอีกทางหนึ่ง หมออยากแนะนำให้จัดการกับความเครียด โดยหามุมผ่อนคลายให้ชีวิตบ้าง เช่น ไปเที่ยว ดูหนัง ฟังเพลงเบาๆ ให้ความเครียดในใจเราผ่อนคลายลง และหาอาหารที่มีฤทธิ์เย็นมารับประทาน เช่น กลุ่มแตง ฟัก ฯลฯ ก็จะช่วยลดความร้อนภายในได้

4.แผลที่เกิดจากการอักเสบของเหงือกและฟัน ในกรณีนี้ ส่วนใหญ่เป็นการอักเสบ บวม แดง เลือดออก หรือเป็นหนอง มากกว่าจะเป็นแผลอย่างชัดเจน หรือเป็นแผลที่เกิดจากหนองที่แตกออกมาแล้ว

  • แผลที่เกิดจากการอักเสบของเหงือกและฟันแบบนี้ ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อรักษาในจุดที่เกิดปัญหาให้เรียบร้อย เช่น การขูดหินปูน การรักษารากฟัน หรือถอนฟัน เพื่อไม่ให้มีการเก็บกักเชื้อโรคไว้ที่ใต้เหงือก หรือในตัวฟันที่อักเสบนั้น

5.แผลที่เกิดจากเชื้อรา กรณีนี้ เกิดขึ้นได้ค่อนข้างยาก จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำมาก

  • กรณีที่เป็นแผลจากเชื้อรา หมอแนะนำว่า ควรไปปรึกษาหมอเพื่อรักษา ซึ่งนอกจากพบทันตแพทย์แล้ว ควรได้พบแพทย์เพื่อปรึกษาว่า เรามีปัญหาในระบบร่างกายอย่างไรด้วยค่ะ
หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์

กรณีเป็นแผลในปากแล้ว หายภายในหนึ่งสัปดาห์ ก็ยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง แต่ถ้าเป็นแผลนานๆ ไม่หายสักที หรือเป็นๆ หายๆ ในจุดเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็ควรจะได้รีบไปหาหมอ เพราะบางที จากเพียงแค่แผล ก็จะสามารถพัฒนากลายเป็นมะเร็งได้

ดังนั้น นอกจากการรักษาโดยการทายาเฉพาะตำแหน่งที่เป็นแผล จึงควรมีการแก้ไขสาเหตุของรอยแผลนั้น เช่น การอุดฟันที่แตก การครอบฟัน หรือถอนเศษรากฟัน การใช้แปรงสีฟันที่ขนอ่อน ใช้แรงในการแปรงฟันที่ไม่มากเกินไป การให้หมอกรอแต่งบริเวณที่ฟันปลอมกดทับ ตลอดจนการลดความเครียด รับประทานอาหารที่เหมาะสม โดยเฉพาะผักผลไม้มากๆ เพื่อให้สภาพร่างกายของเรามีความสมบูรณ์แข็งแรง ระบบภูมิคุ้มกันจะได้ทำงานได้ปกติ ลดการเกิดแผลในปากได้ค่ะ

บทความโดย

คุณหมอแอ๊ด ทพญ. นิภาพรรณ โอศิริพันธุ์
ทันตแพทย์ประจำคลินิกทันตกรรมพรเทวา
หนึ่งในคลินิกพาร์ทเนอร์กับเซนยุม

บทความโดย

ทพญ. นิภาพรรณ โอศิริพันธุ์ หรือ คุณหมอแอ๊ด
ทันตแพทย์ประจำคลินิกทันตกรรมพรเทวา
หนึ่งในคลินิกพาร์ทเนอร์กับเซนยุม

Table of Contents

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง

เราจะถูกสอนกันมาตั้งแต่เด็กๆ ให้แปรงฟันก่อนเข้านอนนะ ไม่กินขนมหวาน ไม่กินน้ำหวานนะ เดี๋ยวฟันจะผุ แต่จริงๆ แล้วฟันผุเกิดมาจากอะไรกันแน่ วันนี้หมอจะอธิบายให้ฟังครับ
รวมไว้ให้แล้วคำถามที่พบบ่อยเมื่อเริ่มจัดฟันใสกับ Zenyumไม่ว่าจะเป็น วิธีใส่อุปกรณ์จัดฟันใส วิธีทำความสะอาดอุปกรณ์

หมวดหมู่

สมัครรับ

จดหมายข่าวของเรา

รับโปรโมชั่นผลิตภัณฑ์รายสัปดาห์และเคล็ดลับการดูแลฟันและช่องปากที่เป็นประโยชน์!

Search

สงวนสิทธิ์

อุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานทางการแพทย์ใดๆ (เช่น การตรวจหา การวินิจฉัย การตรวจสอบ การจัดการ หรือการรักษาทางการแพทย์หรือโรคใดๆ) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพใดๆ ที่ได้รับผ่านอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์นี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำทางการแพทย์’

ค้นหา

Save 15% off* your first purchase. Hurry, this deal ends soon!

Be the first to know about exclusive offers, and more.

Subscribe

to our newsletter

Receive weekly product promos, information and oral care tips!